การปฏิวัติอุตสาหกรรม

AVENT  > Business >  การปฏิวัติอุตสาหกรรม
0 Comments

การปฏิวัติอุตสาหกรรม (INDUSTRIAL REVOLUTION) หมายถึง กระบวนการเปลี่ยนแปลงใน วิธีการผลิตและระบบการผลิต จากเดิมระบบการผลิตมักทำกันภายในครอบคัว พ่อค้ามักเป็น นายทุนซื้อวัตถุดิบแล้วแจกจ่ายให้แต่ละครอบครัวรับมาทำ แล้วพ่อค้าจะรับผลิตภัณฑ์ที่สำเร็จ แล้วไปขาย คนงานก็จะได้ค่าจ้างเป็นการตอบแทน การผลิตสินค้าเดิมใช้แรงงานคน แรงงานสัตว์ รวมทั้งพลังงานจากธรรมชาติ เครื่องมือแบบง่ายๆ มาเป็นการใช้เครื่องจักรกลแทน เริ่มจากแบบ ง่ายๆ จนถึงแบบซับซ้อนที่มีกำลังผลิตสูง จนเกิดเป็นการผลิตในระบบโรงงาน (FACTORY SYSTEM) การผลิตภายในครอบครัวก็ค่อยๆ หมดไป และผู้คนจำนวนมากตามชนบทต้องอพยพเข้ามาทำงาน เป็นกรรมกรในโรงงาน

การปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งแรกเกิดในประเทศอังกฤษในคริสต์ศตวรรษที่ 18 และได้แพร่ ขยายไปยังประเทศตะวันตกอื่นๆ ทั่วโลก การปฏิวัติอุตสาหกรรมนับเป็นปรากฏการณ์ใหม่ที่มีผล กระทบต่อการเมืองการปกครอง สังคม เศรษฐกิจ และวัฒนธรรมของมนุษยชาติทั่วโลก ซึ่งสามารถแบ่งออกเป็น 2 ระยะ คือ การปฏิวัติอุตสาหกรรมระยะแรกใน ระหว่าง ค.ศ 1760-1840 เป็นระยะที่มีการประดิษฐ์เครื่องจักรช่วยในการผลิตและการปรับปรุง โรงงานอุตสาหกรรมให้มีประสิทธิภาพ และการปฏิวัติอุตสาหกรรมระยะที่ 2 ระหว่าง ค.ศ. 1861- 1865 เป็นการปรับปรุงการคมนาคมสื่อสาร ซึ่งเป็นผลมาจากความสำเร็จของอุตสาหกรรมเหล็ก และเครื่องจักรไอน้ำ

อังกฤษเป็นผู้นำในการปฏิวัติเกษตรกรรม (AGRICULTURAL REVOLUTION) โดยนำความรู้ทาง วิทยาศาสตร์มาปรับปรุงการเกษตรให้พัฒนาขึ้น โดยในคริสต์ศตวรรษที่ 16 อังกฤษนำระบบล้อม เขตที่ดิน (ENCLOSURE SYSTEM) มาใช้เพื่อเพิ่มผลผลิตทางเกษตรอย่างแพร่หลาย ซึ่งเป็นผลให้เจ้าของที่ดินรายใหญ่สามารถรวบรวมที่ดินของตนเป็นผืนใหญ่ และสร้างรั้วล้อมที่ดินของตนเพื่อ ป้องกันความเสียหายของพืชผลจากการทำลายของคนและสัตว์ นอกจากนี้ยังนำวิทยาการใหม่ๆ มาใช้ในการผลิต การปรับปรุงวิธีการทำนาให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น การปฏิวัติเกษตรกรรมนำไปสู่ การปฏิวัติอุตสาหกรรม

ผลของการปฏิวัติอุตสาหกรรม มีดังนี้

  1. ประชากรทั่วโลกเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว เพราะความ ก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และทางด้านการแพทย์เจริญก้าวหน้า ขึ้นอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งความสมบูรณ์ของอาหาร ระบบ สาธารณสุขและการดูแลสุขภาพอนามัย การเพิ่มประชากรอย่างรวดเร็ว ทำให้เกิดการอพยพจากชนบทมาหางานทำใน เมืองจนเกิดปัญหาความแออัดของประชากรในเขตเมือง

2. การก่อสร้างอาคารบ้านเรือนและสถาปัตยกรรม พัฒนาก้าวหน้ามากขึ้น เพราะการพัฒนาอุตสาหกรรมและ เทคโนโลยีการก่อสร้าง ทำให้อาคารแข็งแรงขึ้น การออกแบบ ก่อสร้างหอไอเฟล (EIFFEL TOWER) ที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศสใน ค.ศ. 1889 ถือเป็นสัญลักษณ์ของการเริ่มต้นการก่อสร้างที่ ทันสมัยของโลก

3. เกิดปัญหาสังคมต่างๆ มากมาย เช่น ชุมชนแออัด การแพร่กระจายของเชื้อโรค ปัญหาอาชญากรรม การใช้ แรงงานเด็ก การเอารัดเอาเปรียบกัน ทำให้เกิดแนวคิดของ ลัทธิสังคมนิยม (SOCIALISM) ของคาร์ล มาร์กซ์ (KARL MARX) ที่เรียกร้องให้กรรมกรรวมพลังกันเพื่อก่อการปฏิวัติโค่นล้มระบบ ทุนนิยม ทำให้ลัทธิสังคมนิยมมีบทบาทและอิทธิพลมากขึ้น

4. เกิดลัทธิเสรีนิยม (LIBERALISM) ซึ่งเป็นพื้นฐานการปกครองระบอบประชาธิปไตยและ แนวคิดนี้แพร่หลายกว้างขวางขึ้น ทั้งด้านการเมืองและเศรษฐกิจ ค.ศ. 1776 แอดัม สมิธ (ADAM SMITH) ได้พิมพ์งานเขียนชื่อ THE WEALTH OF NATIONS เพื่อเสนอแนวคิดว่าความมั่งคั่งของ ประเทศจะเกิดจากระบบการค้าแบบเสรี (LAISSEZ FAIRE)

5.การปฏิวัติทางอุตสาหกรรมได้ขยายไปทั่วภูมิภาคต่างๆ ของโลก ทำให้เกิดการ เปลี่ยนแปลง ทางด้านเศรษฐกิจและสังคม การเมือง และทำให้ประเทศต่างๆ เหล่านี้มี “วัฒนธรรมร่วม” ตามตะวันตกไปด้วย