วัสดุที่เหมาะสม และเทคนิคการบำรุงรักษาพื้นโรงงานอุตสาหกรรม

AVENT  > Industrial >  วัสดุที่เหมาะสม และเทคนิคการบำรุงรักษาพื้นโรงงานอุตสาหกรรม
0 Comments
รับทำพื้นโรงงานอุตสาหกรรม

การเลือกและติดตั้งพื้นในโรงงานเป็นสิ่งสำคัญที่ส่งผลต่อสภาพแวดล้อมการผลิตที่ปลอดภัย และสุขลักษณะที่ดี พื้นที่ทำงานต้องไม่ลื่น สะอาดตามหลักอนามัย และทำความสะอาดง่าย นอกจากนี้ พื้นยังต้องมีความคงทนเพื่อให้ใช้งานได้คุ้มค่า ไม่ต้องซ่อมบำรุงบ่อยจนต้องกระทบกับการทำงาน ดังนั้นการเลือกบริษัทรับทำพื้นโรงงานอุตสาหกรรมจะต้องมีวิธีการพิจารณาเลือกใช้และติดตั้งพื้นสำหรับโรงงาน เพื่อให้พื้นมีความเหมาะสมกับสภาพการทำงาน และสามารถใช้งานได้ยาวนานโดยไม่เสื่อมสภาพ

วัสดุที่ใช้ทำพื้นโรงงานอุตสาหกรรมมีหลายประเภท ต้องเลือกใช้ตรงกับประเภทของงานอุตสาหกรรม

ก่อนเลือกใช้บริการรับทำพื้นโรงงานอุตสาหกรรมนั้น จะต้องทราบว่าประเภทของอุตสาหกรรมเป็นงานแบบไหน มีเรื่องใดที่จะต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ เพราะถ้าพื้นโรงงานไม่เอื้อต่อการทำงานแล้ว ประสิทธิภาพการทำงานอาจจะไม่ได้ตามต้องการ และก่อให้เกิดอันตรายได้ด้วย

  1. อีพ็อกซี่ เป็นหนึ่งในประเภทพื้นอุตสาหกรรมที่มีการใช้งานในโรงงานหลายประเภทและมักจะเห็นได้บ่อย โดยมีลักษณะเป็นพื้นแข็งแรง มีความหนา และพื้นผิวมีประสิทธิภาพสูง สามารถรับแรงกระแทกได้ดี มีคุณสมบัติที่ยับยั้งการเจริญเติบโตของแบคทีเรีย ซึ่งช่วยป้องกันรอยเปื้อนและของเหลวหกใส่ ดังนั้นการเลือกใช้พื้นอีพ็อกซี่จะถูกเลือกในลักษณะพื้นโรงงานที่ต้องการพื้นที่ทำงานที่ปลอดภัยและสะอาดในอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่ม เป็นต้น

ซึ่งพื้นอีพ็อกซี่นั้นยังสามารถแยกได้เป็น 3 ประเภท ได้แก่

  • แบบกันลื่นหลายชั้น เหมาะสำหรับใช้ในบริเวณที่มีความชื้นสูงและต้องใช้งานกับของเหลวหรือไขมันอยู่เสมอ สามารถปรับแต่งความหนาของชั้นได้ตามความต้องการของผู้ใช้งานด้วย
  • แบบปรับระดับเองได้ (Self-Leveling) ใช้งานได้ในบริเวณที่มีการจราจรหนาแน่นและมีผู้คนเดินทางผ่านไปมาบ่อย และสำหรับบริเวณที่ต้องการความสะอาดและปลอดเชื้อ เช่น โรงพยาบาล หรือโรงงานอุตสาหกรรมที่ต้องควบคุมความสะอาดและเชื้อโรคต่าง ๆ มีคุณสมบัติที่สามารถปรับระดับพื้นโดยอัตโนมัติ ยังมีความเรียบเนียนและมีความแข็งแรงสูง
  • แบบผิวเปลือกส้ม ใช้กับพื้นที่ที่มีสภาพแวดล้อมแห้ง โดยจะมีการเคลือบพื้นด้วยชั้นบาง ๆ เพื่อเพิ่มความแข็งแรงและป้องกันการทำลายจากสภาพแวดล้อม อย่างในพื้นที่ที่ต้องมีความสะอาดและสุขอนามัย เช่น โรงเรียนหรือโรงพยาบาลที่ต้องป้องกันการแพร่เชื้อโรค
  • กระเบื้องยาง ผู้ให้บริการรับทำพื้นโรงงานอุตสาหกรรมมักจะมีกระเบื้องยางเป็นตัวเลือกอยู่ด้วย และถือว่าเป็นตัวเลือกที่ดีสำหรับการปูพื้นอุตสาหกรรม เหมาะกับพื้นที่ที่ต้องการพื้นผิวที่มีคุณสมบัติเป็นฉนวนที่ดี การเลือกใช้กระเบื้องยางอาจต้องการการดูแลและบำรุงรักษาผิวหน้าบ่อยจากรอยบุบ รอยขีดข่วน และรอยเปื้อน นอกจากนี้พื้นยางอุตสาหกรรมยังเหมาะสำหรับการใช้งานในโรงยิมหรือบริเวณกลางแจ้ง เนื่องจากมีคุณสมบัติกันลื่นตามธรรมชาติเมื่อเปียก
  • พื้นคอนกรีต เป็นพื้นเดิมโดยที่ไม่ต้องปูวัสดุชนิดอื่นทับ เป็นวัสดุที่มีความแข็งแกร่งมากและมีทนทานสูงสุดในงานก่อสร้าง เหมาะสำหรับโรงงานในส่วนงานที่ต้องใช้สารอันตราย โดยปกติแล้วจะมีตัวเลือกอยู่ 2 แบบ คือ

            3.1 พื้นคอนกรีตขัดเงา (Polished Concrete) เป็นการจัดการกับผิวหน้าคอนกรีตให้แข็งแกร่งมากขึ้นและง่ายต่อการทำความสะอาด หลังการขัดเงาเสร็จสิ้นจะได้พื้นที่ที่ดูเงางามและเป็นเอกลักษณ์คล้ายหินอ่อน
            3.2 พื้นคอนกรีตเรียบ (Floated) เป็นทำให้ได้พื้นผิวเรียบและสม่ำเสมอ มักนำมาใช้กับทางเข้าโกดังเก็บสินค้าที่ต้องรับน้ำหนักของยานพาหนะบรรทุกหนัก เหมาะสำหรับใช้งานภายนอกซึ่งจะช่วยลดการสะสมของฝุ่นได้ด้วย

เทคนิคการบำรุงรักษาพื้นโรงงานอุตสาหกรรม

การดูแลพื้นผิวอย่างถูกวิธีหลังจากบริษัทรับทำพื้นโรงงานอุตสาหกรรมทำการติดตั้งเรียบร้อยแล้ว จะทำให้พื้นของโรงงานสามารถใช้งานได้นาน ซึ่งทำได้ไม่ยากดังนี้

  • ‍ควรกวาดพื้นโดยใช้ไม้กวาดขนอ่อนทุกวัน จะช่วยกำจัดสิ่งสกปรก และลดโอกาสเกิดรอยขีดข่วนที่พื้น ที่อาจจะเกิดจากวัตถุปลายแหลมมาขูดพื้นหรือลากถูสิ่งต่าง ๆ จนทำให้พื้นเป็นรอย
  • ‍‍ล้างพื้นทุกสัปดาห์ด้วยน้ำยาล้างจาน โดยผสมในอัตราส่วนน้ำยาล้างจาน 1/3 ถ้วย กับน้ำเปล่า 4-5 ถ้วย หลังจากนั้นใช้ผ้ามอบถูพื้นทำความสะอาด 
  • ขัดทำความสะอาดพื้นด้วยแว็กซ์ เพื่อช่วยทำให้รอยขีดข่วนจางลง ยังช่วยป้องกันการเกิดรอยการการขีดข่วนได้ด้วย แนะนำให้แว็กซ์พื้นซ้ำทุก 6 เดือน 

สิ่งที่สำคัญอีกอย่างสำหรับการทำพื้นโรงงานก็คือ การเลือกบริษัทรับทำพื้นโรงงานอุตสาหกรรม เพื่อให้งานออกมามีคุณภาพ ควรเลือกบริษัทที่ได้มาตรฐาน มีประสบการณ์การทำงาน และสามารถให้คำปรึกษาในการติดตั้งและวางระบบของพื้นโรงงานได้ เพราะพื้นโรงงานนั้นเป็นอีกส่วนสำคัญที่จะบอกถึงมาตรฐานและช่วยให้ประสิทธิภาพการทำงานนั้นดียิ่งขึ้น